สำหรับ เกมกระดานหมากรุก หลายๆคนอาจจะยังไม่รู้ว่ามันมีฉายา “เกมแห่งราชา” เพราะในอดีต ผู้ปกครองจักรวรรดิ หรือ ราชอาณาจักรต่างๆ ล้วนฝึกฝนการเล่นหมากรุกเชิงยุทธวิธี เพื่อเป็นการเพิ่มวิสัยทัศน์ด้านต่างๆ เพราะเป็นการฝึกสมองได้อย่างดีเยี่ยมอีกทางหนึ่ง และปัจจุบันนี้มันก็เป็นเกมที่ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางในหมู่คนทั่วไป
- ช่วยเพิ่ม IQ
เกมกระดานหมากรุก เป็นการแก้ปัญหาเชิงรูปภาพ อีกทั้งยังช่วยยกระดับ IQ ของผู้เล่นเมื่อเล่นอย่างสม่ำเสมอ โดยมีการอ้างอิงข้อมูลมาจากกรณีศึกษานักเรียนทั้งเด็กชายและเด็กหญิงชาวเวเนซุเอลาจำนวน 4,000 คน ภายหลังจากเรียนหมากรุกไปได้ 4 เดือน ปรากฏว่าคะแนน IQ ของนักเรียนกลุ่มนี้เพิ่มสูงขึ้น
- หมากรุกช่วยป้องกันโรค Alzheimer’s
สมองของมนุษย์จำเป็นต้องได้รับการออกกำลังเหมือนกล้ามเนื้อ Bicep เพื่อคงความสมบูรณ์ของสมองเอาไว้ ในนิตยสารการแพทย์ The New England Journal of Medicine มีข้อมูลกล่าวว่า บุคคลที่มีอายุเกิน 75 ปี ซึ่งได้มีโอกาสเล่นหมากรุกอย่างสม่ำเสมอ พบว่ามีอาการโรคจิตเสื่อม น้อยกว่าคนที่ไม่ได้เล่น
- ช่วยออกกำลังสมองทั้งสองซีก
การศึกษาของประเทศเยอรมัน นักวิจัยได้พบว่าปฏิกิริยาของสมองทั้งสองซีกของนักหมากรุก สามารถทำงานได้เหมือนกันอย่างชัดเจน และมีความสามารถในการใช้สมองทั้งสองซีกได้อย่างรวดเร็ว ในการตอบโต้การแก้ไขปัญหาตำแหน่งของหมากรุก
- ช่วยเพิ่มความคิดสร้างสรรค์
สมองซีกขวามีหน้าที่สร้างความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ การเล่นหมากรุกจึงมีส่วนสำคัญในการสร้างสรรค์นวัตกรรม ให้แก่บุคคลนั้นๆ
- ทำให้ความจำดีขึ้น
กรณีศึกษาปี 1985 กล่าวว่า นักเรียนที่เล่นหมากรุกบ่อยๆ มีพัฒนาการคะแนนที่ดีขึ้น รวมทั้งมีความจำดีขึ้น โดยนักเรียนกลุ่มที่ไม่เคยเล่นหมากรุกมาก่อนก็มีความจำดีขึ้นหลังจากได้เล่นหมากรุกไปแล้ว
- เพิ่มทักษะการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
เกมนี้เป็นการแก้สถานการณ์ ณ ขณะปัจจุบัน เพราะคู่ต่อสู้มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการเล่นตลอดเวลา ทำให้ผู้เล่นฝึกความคิดต่อสถานการณ์ที่อยู่ตรงหน้า
- พัฒนาทักษะการอ่าน
ในปี ค.ศ. 1991 ได้มีการศึกษาทักษะการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาจำนวน 53 คน โดยนักเรียนกลุ่มนี้ได้เข้าร่วมในโครงการหมากรุก ผลการศึกษาในครั้งนั้นพบว่า การเล่นหมากรุกช่วยเพิ่มทักษะในการอ่านได้เป็นอย่างมาก
- พัฒนาสมาธิ
สมาธิอันเกิดจากการเล่นหมากรุก เกิดจากการจดจ่อลงไปในทุกๆตา ทุกอย่างต้องกระทำด้วยความรอบคอบ ถ้าเผลอเมื่อไหร่อาจพ่ายแพ้คู่ต่อสู้ได้
- ทำให้เยื่อประสาท Dendrite โตขึ้น
การเล่นหมากรุก ทำให้เยื่อประสาท Dendrite มีขนาดโตขึ้น มันเป็นเยื่อประสาทที่แตกกิ่งคล้ายต้นไม้ โดยมีหน้าที่นำสัญญาณจากเซลล์ประสาทอื่นๆ เดินทางไปยังเซลล์ประสาท Neurons
- สอนการวางแผนล่วงหน้า
เพราะการเล่นหมากรุกคือการวางแผลกลยุทธ์ล่วงหน้า ทำให้ผู้เล่นสามารถนำทักษะนี้ไปใช้ในชีวิตจริงได้